วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ธรรมชาติที่สวยงาม



  ธรรมชาติที่ออกมาจากจิตวิณญาณ
การจะเข้าใจถึงธรรมชาติและความหมายของความสวยงามนั้น จำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงหลักปรัชญาของสุนทรีย์ถาพ สุนทรียศาสตร์ ในสุนทรียศาสตร์นั้นมีนักปรัชญาหลายกลุ่ม รวมถึงกลุ่มที่เชื่อว่าความสวยงามนั้นเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับผู้รับรู้ และอีกกลุ่มที่เชื่อว่าความสวยงามนั้นมีค่าที่เที่ยงแท้
                ความสวยงาม คือสถานภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน และความชื่นชมผ่านการเข้าใจและรับรู้ถึงความสมดุล สัดส่วน และ แรงดึงดูด ของสิ่งๆนั้น ซึ่งอาจจะเป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ สถานที่ ดนตรี ศิลปะ หรือ ความคิด. สิ่งตรงกันข้ามกับความสวยงามคือความน่าเกลียดน่าชัง ซึ่งมีผลกระทบอย่างตรงกันข้ามต่อผู้ที่รับรู้
ความรักกับอากาศ..
เธอเลือกที่จะขาดสิ่งไหน
ไม่มีอากาศ ก็ไม่มีลมหายใจ
ไม่มีความรักยังหายใจได้เหมือนทุกวัน
-  -  -  -  -  -
อากาศไม่ต้องเสาะแสวงหา
แต่ความรักจะได้มาต้องบากบั่น
อากาศอาจได้มาง่ายๆและมีอยู่มากมายร้อยพัน
ส่วนความรักแม้เพียงฝันก็สุขใจ
-  -  -  -  -  -
อากาศแทบไม่มีน้ำหนัก
ส่วนความรักใครก็เห็นว่ายิ่งใหญ่
อากาศไม่เคยสร้างความเสียใจ
หากความรัก ทำให้ต้องร้องไห้ มีน้ำตา
-  -  -  -  -  -
อากาศทำให้ทุกชีวิตดำรงอยู่
และความรักทำให้ลมหายใจทุกอณูมีคุณค่า
อากาศมองเห็นได้ยากด้วยสายตา
ส่วนความรัก เห็นด้วยตา รู้ด้วยใจ
-  -  -  -  -  -
มีอากาศโลกก็เป็นอย่างที่เป็นอยู่
มีความรักโลกจะกลายเป็นสีชมพูหวานไหว
สำหรับอากาศ เข้า-ออก ตามลมหายใจ
แต่ความรักหากมีไว้ก็ไม่อยากสูญเสียไปสักนิดเดียว
-  -  -  -  -  -
ดูแลรักษาอากาศว่าลำบาก
ดูแลความรักยิ่งยุ่งยากหากไม่ชอบแลเหลียว
อากาศมากเท่าไร่ก็ไม่กลมเกลียว
ความรัก แม้บางเบาก็แน่นเหนียวและผูกพัน
-  -  -  -  -  -
ส่นประกอบของอากาศสามารถบรรยาย
แต่ความรักไม่อาจอธิบายด้วยคำสั้นๆ
อากาศอาจ ดี-แย่ แต่ละวัน
ส่วนความรักนั้นจะยังคงอบอ่นกรุ่นหัวใจ
-  -  -  -  -  -
“ความรัก” กับ “อากาศ”
หากถามฉัน ว่าเลือกที่จะขาดสิ่งไหน
แม้อากาศจำเป็นสักเพียงใด
แต่ในโลกที่ความรักสิ้นไร้ ก็ไม่อาจทนอยู่ได้เช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น